สินเชื่อ

                  สินเชื่อส่วนบุคคล กับข้อมูลที่ควรรู้

เรื่องของการเป็นหนี้ คงไม่มีใครชอบหรืออยากเป็นสักเท่าไหร่ แต่บางปัญหา ก็ไม่สามารถเลี่ยงหรือปฏิเสธได้ว่า ไม่จำเป็นต้องใช้เงินในการแก้ปัญหา
 ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ค่ากินอยู่ ค่าบ้าน ค่าเล่าเรียน เป็นต้น ทำให้ต้องหาที่หยิบยืมเพื่อแก้ไขปัญหา แต่จะให้ไปกู้หนี้นอกระบบ
ก็ต้องเจอกับดอกเบี้ยมหาโหด แถมทวงหนี้ไม่เว้นวัน หลายๆคนจึงลงเอยด้วยการขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อความปลอดภัยและเป็นธรรม สินเชื่อส่วนบุคคล
มีหลากหลายประเภท ตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ จะช่วยให้เราได้รับวงเงินและระยะเวลาการชำระคืนตามความเหมาะสม เช่น กู้ซื้อบ้าน หากกู้ตรงตามวัตถุประสงค์
 วงเงินกู้จะสูงกว่าและระยะเวลากู้จะยาวนานกว่ากู้ประเภทอื่น มาดูกันว่า สินเชื่อแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง และแตกต่างกันยังงัย วัตถุประสงค์การใช้งานคืออะไร

       สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 

 เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินเปล่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือแม้แต่ คอนโดมีเนียม
 อพาร์ทเม้นท์ เป็นต้น สินเชื่อประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะให้วงเงินสูง ระยะเวลากู้นาน เพื่อให้ครอบคลุมกับระยะเวลาและจำนวนเงินกู้ เพียงนำหลักทรัพย์ที่มีเป็นหลักประกัน
 ก็สามารถได้รับวงเงินกู้แล้ว

       สินเชื่อรถ 

 เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์มือหนึ่ง หรือรถยนต์มือสอง ก็สามารถขอสินเชื่อนี้ได้หมด
 สินเชื่อชนิดนี้จะคำนวณดอกเบี้ยครั้งเดียว ในครั้งแรกแล้วนำมาหารเป็นจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนตามที่เราตกลงไว้กับสถาบันการเงิน

       สินเชื่อรีไฟแนนซ์ 

 เป็นสินเชื่อที่นำเงินกู้ก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเก่าโดยใช้หลักประกันตัวเดิมค้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการปิดหนี้สำหรับการผ่อนบ้าน คอนโด รถ เป็นต้น
 ซึ่งโดยปกติการรีไฟแนนซ์นั้น เราจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลดลง ซึ่งอาจเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินเดิมหรือสถาบันการเงินใหม่ก็ได้เช่นกัน

       สินเชื่อเพื่อธุรกิจและการลงทุน 

สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจและมองหาเงินทุนในการสร้างธุรกิจใหม่ หรือผู้ที่ทำธุรกิจแล้ว ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ
หรือการดำเนินการ สินเชื่อชนิดนี้ ส่วนใหญ่ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบ การกู้ระยะยาว การกู้ระยะสั้น หรือแม้แต่การกู้แบบวงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft – OD)
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของผู้ขออย่างแท้จริง

       สินเชื่อเพื่อการศึกษา 

 สินเชื่อที่สนับสนุนในเรื่องของการศึกษาทั้งในประเทศและการศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก
 ก็สามารถขอได้หมด ซึ่งบางสินเชื่อสามารถขอกู้ได้เท่ากับจำนวนที่ใช้จริงเลย ช่วยให้หมดห่วงเรื่องเงินทุนสำหรับการศึกษา ต่อยอดอนาคตได้ไกลขึ้น

       สินเชื่อเอนกประสงค์ 

สินเชื่อประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการค่าใช้จ่ายทั่วไป หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน โดยมีหลากหลายรูปแบบในการขอ
 และวงเงินจะขึ้นอยู่กับประเภทหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน กับสินเชื่อบ้านแลกเงิน วงเงินจะต่างกัน โดยส่วนมาก การใช้อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน
จะได้วงเงินกู้มากกว่าการใช้รถ บางครั้งวงเงินก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการกู้ด้วยเช่นกัน สามารถตรวจสอบกับทางสถาบันการเงินเพื่อความชัดเจน และเหมาะสมในการกู้

         เมื่อไหร่เราถึงขอสินเชื่อ

 เมื่อเวลาที่เราจำเป็นต้องใช้เงินก้อนฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่ารักษาพยาบาล หรือสำหรับค่าที่อยู่อาศัย สินเชื่ออาจช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น
 สามารถบริหารค่าใช้จ่ายรายเดือนได้มากกว่า เพราะ สินเชื่อจะเป็นการจ่ายเงินจำนวนที่เท่ากันทุกเดือน ซึ่งเราสามารถกำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ได้ด้วย
 อยู่ที่การตกลงกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการขอสินเชื่อส่วนบุคคล

        วิธีการเลือกสินเชื่อ ดูจากปัจจัยใดบ้าง

               วัตถุประสงค์ 

ประเมินจากวัตถุประสงค์ของการขอสินเชื่อ ว่าเราจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้น ในการทำสิ่งใด เช่น ซ่อมแซมบ้าน ปลูกบ้าน ก็ควรเลือกสินเชื่อบ้าน
 หรือ ต้องการลงทุน หรือ ขยายกิจการ ก็ควรเลือกสินเชื่อรถ เป็นต้น
อัตราดอกเบี้ย : ตามที่เราเข้าใจกันนั้น คือ เราควรเลือกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุด เพื่อที่เราจะได้จ่ายเงินน้อยที่สุด แต่จริงๆแล้ว สำหรับการขอสินเชื่อ
ไม่ใช่แค่การเลือกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเท่านั้น เพราะอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีด้วยกันถึง 2 ประเภท ซึ่งมีจุดดี จุดเด่นที่แตกต่างกัน
 และก็เป็นจุดที่ควรนำมาคำนวณด้วยเช่นกัน เพื่อดูว่าแบบไหน ที่อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ จะคุ้มและถูกที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อส่วนบุคคลชนิดต่างๆ
อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) – เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดไว้ที่ตัวเลขเท่าเดิมตลอดอายุสัญญา เช่น ดอกเบี้ย 4% ระยะเวลา 3 ปี เป็นต้น
 ซึ่งข้อดีของดอกเบี้ยแบบคงที่คือ ปกติอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นๆลงๆ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนั้นๆ
ถ้าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยผันเปลี่ยนเป็นสูงมาก เราก็ยังจะได้รับและจ่ายเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่คงที่เช่นเดิมเอกสารแสดงรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ และหลักฐานการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) – เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อ้างอิงตามการเปลี่ยนแปลงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรวมถึง
 เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงินนั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจุดดีคือ ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยถูกมาก เราก็สามารถจ่ายดอกเบี้ยตามอัตรานั้นๆ

              วงเงินและระยะเวลาการกู้ 

 วงเงินโดยทั่วไป จะอยู่ 80% ของมูลค่าหลักทรัพย์ แต่บางสินเชื่ออาจให้วงเงินสูงถึง 90-100%
ซึ่งอาจตอบโจทย์ความต้องการของเรามากกว่า แต่นอกจากนี้ ควรดูเรื่องของระยะเวลากู้ด้วยเช่นกัน บางทีให้ระยะเวลาในการกู้ไม่ยาวมากนัก
ทำให้เราอาจต้องแบกภาระการชำระเงินคืนต่อเดือนค่อนข้างเยอะ

              ค่าใช้จ่ายในการกู้ 

 เนื่องจากการขอสินเชื่อบางครั้ง จะมีค่าดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น ค่าประเมินมูลค่าของหลักประกัน หรือ ค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อ
 หากตรวจสอบดีดี จะพบว่ามีบางสินเชื่อจะมีบริการเหล่านี้ให้ฟรี หรืออัตราค่าธรรมเนียมถูกว่าที่อื่นๆ

              เงื่อนไขในการสมัคร 

เงื่อนไขในที่นี้ หมายรวมถึง คุณสมบัติในการกู้ เช่น ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลในการค้ำประกัน หรือสามารถขอได้โดยไม่จำเป็นต้องค้ำประกันใดๆ
 หรือแม้แต่ รายได้ขั้นต่ำ ในการขอสินเชื่อชนิดต่างๆ เราควรเลือกให้ตรงกับตัวเรา ไม่เช่นนั้นแล้ว เราอาจไม่ได้รับการอนุมัติการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก็ได้
เลือกสินเชื่อส่วนบุคคลที่ต้องการได้แล้ว เตรียมตัวอย่างไรดี?

              เอกสารแสดงรายได้ 

ควรเตรียมประวัติการเงินที่ดี ที่แสดงถึงความพร้อมในการชำระหนี้ เช่น บัญชีเงินฝากที่มีเงินหมุนเวียนหรือมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาย้อนหลัง 6 เดือน
 พร้อมเตรียมเอกสารต่างๆให้เรียบร้อย ทั้ง สลิปเงินเดือน หน้าสมุดบัญชี ถ้าหากเป็นร้านค้าหรือนิติบุคคล ควรเตรียมสมุดบัญชีรายรับและรายจ่ายของกิจการไว้ด้วย ย้อนหลัง 6 เดือน
เช่นกัน เพื่อความง่ายขึ้น รวมถึงใบแสดงภาษีเงินได้ หรือ งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี
             เอกสารแสดงตัวตน : เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับตัวเรา เพื่อแสดงถึงตัวตน และที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถติดต่อได้ง่ายและสะดวกไม่ว่ากรณีใดๆ
 เช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เป็นต้น
             เอกสารหลักประกัน : สินเชื่อบางตัว จำเป็นต้องใช้หลักประกันในการขอเงินกู้ ยิ่งเป็นหลักประกันที่มีมูลค่าสูงก็ย่อมได้วงเงินสูงตามไปด้วย บางที อาจะเป็น บ้าน ที่ดิน
 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ หรือรถบรรทุก รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น แต่สำหรับบางสินเชื่อนั้น ใช้เพียง บุคคลในการค้ำประกัน หรือเงินฝากในบัญชี เท่านั้น
 ก็สามารถกู้ได้แล้ว ดังนั้น ควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เช่น โฉนดที่ดิน พรบ.รถที่เป็นชื่อของเรา เป็นต้น
             สำหรับเอกสารในการขอสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น โดยส่วนใหญ่ จะใช้ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับสินเชื่อและสถาบันการเงิน) กรณีบุคคลธรรมดา
             1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร, คู่สมรสผู้สมัคร, ผู้ค้ำประกัน, เจ้าของหลักประกัน
             2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร, คู่สมรสผู้สมัคร, ผู้ค้ำประกัน, เจ้าของหลักประกัน
             3. สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญหย่า, ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
             4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร, คู่สมรสผู้สมัคร, ผู้ค้ำประกัน, เจ้าของหลักประกัน (ถ้ามี)
            5. สำเนาทะเบียนการค้า และ/หรือ เอกสารทางราชการอื่นๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. ถูกใจ เวลาติดต่อเอกสารจะได้ครบ

    ตอบลบ